3 เทคนิคทำงานเขียน เขียนบทความอย่างไร ให้อ่านรู้เรื่อง
การสื่อสารเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ หากสื่อสารไม่ดีจะส่งผลให้ข้อความหรือถ้อยคำทั้งหมดมีความไม่ชัดเจน ไม่คลอบคลุมสาระที่ต้องการสื่อสาร หรือถึงขั้นเรียกได้ว่า สื่อสารไม่รู้เรื่อง !! ส่วนของการเขียนซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะการสื่อสารระหว่างกันก็เช่นเดียวกัน หากเรามีวิธีสักเล็กน้อยก็น่าจะพอเป็นหลักช่วยให้สามารถพัฒนางานเขียนได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น ผมจะขออนุญาตทุกคนเพื่อเล่าถึงทักษะและแนวคิดส่วนตัวสำหรับการเขียนบทความหรือการทำงานเขียนต่างๆ ไม่ว่าจะงานเขียนเชิงวิชาการ หรือว่าเขียนบทความอ่านเพลินสบายๆ อย่างบทความอาหาร โดยขอนำเสนอเป็นทักษะทั่วไปเพื่อทำอย่างไรให้งานเขียนของเรา “อ่านรู้เรื่อง” ติดตามเทคนิคต่างๆ ได้ผ่านเว็ปไซต์ของ AFM แห่งนี้เลยครับ :
1. วางโครงเรื่องราวทั้งชิ้นงานก่อน
ทุกครั้งเวลาผมเขียนงาน ผมจะใช้การวางโครงเรื่องก่อนทุกฉบับ ซึ่งมีประโยชน์ก็คือ
1.1 การลำดับเหตุการณ์ หากเราเขียนเหตุการณ์วกวนไปมา ไม่ร้อยเรียงให้เรียบร้อย การหาความเชื่อมโยงถึงกันของเนื้อหาจะเป็นไปได้ยากขึ้นถูกไหมครับ ? เมื่อหาความเชื่อมโยงไม่ได้ “ความเป็นเหตุ ไปสู่ผล” ก็จะยิ่งยากขึ้น ทำให้คนไม่เข้าใจสิ่งที่สื่อสารได้ หรือความเห็นส่วนตัว ผมมองว่าอาจทำให้ลดความน่าเชื่อถือของงานเขียนได้ในบางกรณี เพราะเราถ่ายทอดอย่างเป็นเหตุเป็นผลไม่ได้นั่นเอง
1.2 การป้องกันความสับสนของข้อมูล กล่าวคือ หากเราวางโครงเรื่องไว้ทั้งชิ้นงานก่อนเท่าที่พอทำได้ เราจะมีทิศทางในการนำข้อมูลหรือเรื่องราวจำนวนมากมาจัดใส่ไว้อย่างถูกที่ถูกทาง เมื่อข้อมูลหรือเรื่องราวจัดอยู่ในส่วนเดียวกันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ความต่อเนื่องในการอ่านก็จะเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี การวางโครงเรื่องอาจไม่ใช่สิ่งที่ต้องตายตัวแต่แรก ผมเห็นว่า สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมอยู่ตลอดการเขียนงานชิ้นนั้น เพียงแต่หากเราเริ่มด้วยการวางโครงก่อน จะทำให้มองภาพรวมของงานเขียนทั้งงานได้เป็นระบบดีกว่าครับ
2. ทำตารางเปรียบเทียบข้อมูล
เทคนิคนี้ โดยส่วนตัวผมเห็นว่ามีประโยชน์มาก เพราะเมื่อเราพูดถึงข้อมูลหรือเรื่องราวต่างๆ ที่มีจำนวนมากแล้ว อาจมีปัญหาว่า มีข้อมูลบางส่วนที่เราพูดถึง ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีลักษณะแตกต่างกันในบางประการ เช่น หากผมพูดถึงการทำอาหารในเมนูผัด และเมนูทอด อาจมีอัตราส่วนวัตถุดิบและวิธีการทำแตกต่างกัน ตัวอย่างคือ น้ำมันที่ใช้ต่างกันหรือไม่ ? เมนูแบบใดต้องหมักเนื้อสัตว์ก่อนหรือไม่ ? เป็นต้น จะเห็นได้เลยว่า หากเราพูดด้วยข้อความที่ยาวมาก ๆ อาจทำให้เกิดการจดจำได้ยาก หรือการเกิดความเข้าใจ “ความแตกต่างของสิ่งของบางอย่าง” ได้ยาก ดังนั้น การทำตารางเปรียบเทียบข้อมูล ผมจึงมองว่า อาจช่วยให้เกิดการเห็นข้อแตกต่างของสิ่งของหลายสิ่งที่แตกต่างกันได้อย่างชัดเจนขึ้น
3. ยกตัวอย่างประกอบหรือถ่ายรูปภาพประกอบ
ผมมีความเห็นว่า การทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ โดยทั่วไป จะเข้าใจได้ดีถ้าสามารถทำให้ทุกคน “เห็นภาพ” ได้มากขึ้น จึงเป็นจุดที่น่าสนใจมากเรื่องนี้ เนื่องจากการยกตัวอย่างประกอบหรือถ่ายรูปภาพประกอบ จะช่วยให้ผู้รับสาร “เห็นภาพ” มากขึ้น จับต้องกับงานเขียนได้ง่ายขึ้น เป็นรูปธรรมมากขึ้นนั่นเอง
ตัวอย่างเช่นบทความของผมด้านล่างนี้ #บทความ #อาหาร #AFM
https://www.afmtrk.com/สูตรเมนูดูดี-คู่-afm-ยำโบโล/
https://www.afmtrk.com/สูตรเมนูดูดี-คู่-afm-ต้มยำป/
นอกจากเทคนิคต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงไว้แล้ว ผมขอให้ทุกคนมีความสุขกับการจัดทำผลงานของตัวเอง เหมือนกับผมด้วยนะครับ อยากให้ทุกคนผ่อนคลายกับการจัดทำชิ้นงานใด ๆ ก็ตาม และสุดท้ายเราจะภาคภูมิใจกับมัน ทาง AFM และผมจะคอยเป็นกำลังใจให้เสมอนะครับ ขอบคุณครับ
บทความโดย : ทศพล รอบจังหวัด
สนใจสินค้ายี่ห้อ AFM PPork หรือ ไส้กรอก 3แพ็ค100 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ไลน์ @AFMTRK
หรือคลิก เพื่อสอบถามได้ทันที