fbpx
วันจันทร์, 17 มีนาคม 2568

ไอเดีย ทำงานเป็นทีม อย่างไรให้สำเร็จ

ไอเดีย ทำงานเป็นทีม อย่างไรให้สำเร็จ !

ไอเดีย ทำงานเป็นทีม อย่างไรให้สำเร็จ   การทำงานกลุ่ม ทำงานเป็นแผนก หรือเป็นฝ่ายงาน หรือสั้น ๆ ว่า “ทำงานเป็นทีม”  ก็จะเห็นมีกันได้ทั่วไปครับ ไม่ว่าในองค์กรไหน ๆ ก็จะมีลักษณะการทำงานแบบนี้ให้เห็นกันอยู่เสมอ ๆ  และด้วยความที่ต่างคนต่างความคิด ต่างความรู้ความเข้าใจ ต่างความสามารถกันนี่เอง ที่อาจทำให้ เรายังทำงานไม่ค่อยเข้าขากันกับเพื่อนร่วมงานในบางครั้ง #ชาว AFM มีปัญหานี้บ้างหรือไม่ ?

วันนี้ผมเลยลองขออนุญาตนิดนึง อยากแชร์ไอเดียดี ๆ สำหรับการทำงานเป็นทีม ตามมุมมองส่วนตัวของผม   นะครับ เผื่อจะช่วยให้ทีมงานของคุณ “รักกันได้มากขึ้น” นะครับ  ตามนี้เลย

1. ลองพิจารณาดูสักนิดว่า เราพอช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานได้บ้างหรือไม่ ?

                แม้ว่าแต่ละคนในทีมงานจะมีหน้าที่รับผิดชอบที่แบ่งแยกกันชัดเจนแล้ว  แต่ก็แน่นอนว่า ถ้าเป็นส่วนงานเดียวกัน แผนกหรือฝ่ายงานเดียวกัน ก็ย่อมต้องมีมิติที่ต้องรับผิดชอบงานร่วมกันได้เป็นปกติ  ความรับผิดชอบของเพื่อนร่วมงานหรือคนในทีมของเรา อาจจะมีมิติที่เป็นความรับผิดชอบของเราร่วมกันด้วยก็ได้ ในหลาย ๆ กรณี

                เช่น ในกรณีมีพนักงานเข้ามาทำงานใหม่ แม้ว่าจะมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันแล้ว แต่บางครั้งความยังไม่เข้าใจในระบบงานขององค์กร วัฒนธรรมองค์กร หรือบางครั้งส่วนงานที่พนักงานใหม่เข้ามาทำอาจจะ           ไม่คุ้นชินสำหรับเขา  กรณีนี้หากรุ่นพี่ที่อยู่ก่อนคอยช่วยเหลือ ให้ความเข้าใจ ถ่ายทอดงานให้อย่างดีกับพนักงานใหม่แล้ว  พนักงานท่านนั้นเขาก็จะสามารถทำงานได้ดี ลดความผิดพลาด หรือทำงานได้เร็วขึ้นในทันที โดยใช้เวลาไม่นานในการเรียนรู้งานได้ 

                ซึ่งเหตุการณ์นี้นอกจากจะช่วยให้ตัวชี้วัดของฝ่าย (KPI) ดูดีขึ้นได้ในภาพรวมของฝ่ายงานแล้ว  เมื่อพนักงานใหม่ เรียนรู้งานได้เร็วจากรุ่นพี่ที่อยู่มาก่อน ในวันหนึ่งเมื่อทีมงานต้องการความช่วยเหลือ พนักงานใหม่ท่านนั้นก็จะพร้อมสำหรับการช่วยเหลือคนอื่นตอบแทนกันได้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน

                แม้ว่าการทำงานในโลกของความเป็นจริง การเรียนรู้ด้วยตนเองของพนักงานทุกท่าน จะเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องปฏิบัติ แต่อย่าลืมว่า เครื่องมือที่จะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ไม่ได้มีแต่การเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่จะดีมาก ๆ หากพนักงานใหม่มีความขยันด้วยตนเอง บวกกับประสบการณ์ความรู้ของคนอื่น ๆ ในทีมงานมาช่วยเสริมซึ่งกันและกันแล้ว พนักงานทุก ๆ คน จะเรียนรู้ได้ดีขึ้น ไวขึ้น และส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานที่ดีขึ้นได้มากกว่าในที่สุด นั่นเอง

2. จงมีทัศนคติว่า “ทุกคนมีข้อดีที่ไม่เหมือนกัน”

                บางครั้งทีมงานแม้จะส่วนงานเดียวกัน แต่ก็มีความรู้ความเข้าใจไม่เหมือนกัน มีทักษะไม่เหมือนกัน ซึ่งนั่นไม่ได้หมายความว่า ใครจะด้อยกว่าใคร เช่น คนในทีมบางคนอาจจะเก่งในการเจรจา แต่ไม่ละเอียดงานเอกสาร  หรือบางคนเก่งเขียนงานเอกสารแต่ไม่เก่งที่จะสื่อสารด้วยคำพูด ฯลฯ

                ซึ่งเราไม่ควรนำข้อเสียของแต่ละคนมาทำให้เป็นเรื่องน่ากังวลจนเกินไป แต่ควรที่จะมองว่า “เมื่อแต่ละคนมีข้อดีไม่เหมือนกัน ก็ควรจะหยิบจับข้อดีของคน ๆ นั้นมาใช้ให้ทุกโอกาส ทุกภารกิจหน้าที่งาน” จะดีกว่า  ส่วนในเรื่องข้อเสียก็ค่อย ๆ ให้แต่ละคนเรียนรู้จากคนอื่น ๆ และพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ จะดีที่สุด

                แบบนี้จะทำให้เราไม่นินทาว่าร้าย หรือดูถูกกันในทีมงานเดียวกันเอง ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะที่เคารพเข้าใจกัน และทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นมากที่สุดครับ #ชาว AFM สู้ ๆ !

3. อย่ากำหนดอะไรฝ่ายเดียว !

                ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่ใช้ในการทำงาน หรือหน้าที่ในการทำงาน ส่วนตัวผมมองว่า ไม่ควรกำหนดอะไรเพียงฝ่ายเดียว หมายถึง เวลาจะแบ่งงานหน้าที่ แบ่งความรับผิดชอบ กำหนดเวลาในการทำงาน สำหรับทีมงานเดียวกันนั้น ควรจะเรียกทุกคนในทีมมานั่งคุยกัน ให้เหตุผลซึ่งกันและกัน ไม่ควรนำความคิดของใครคนใด    คนหนึ่งมากำหนดทุกอย่างโดยเด็ดขาด ถ้าไม่จำเป็น (เว้นแต่จะมีเหตุผลอย่างอื่นจริง ๆ)  เพราะการคอยแต่กำหนดงานเองคนเดียว แล้วไม่ค่อยปรึกษาใคร โดยไม่มีเหตุผลอะไรเลยรองรับ อาจทำให้เกิดความลำบากต่อทีมงานที่ต้องทำงานร่วมกันได้ครับ  พูดสั้น ๆ คือ ก่อนวางแผนการทำงาน อยากให้วางแผนร่วมกันถ้าเป็นไปได้ จะดีที่สุด

นี่ก็เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับ แล้วทุกคนเห็นเหมือนกันบ้างไหมครับ #ชาว AFM

บทความโดย : ทศพล รอบจังหวัด

ติดต่อสอบถามบริษัท

หรือ คลิก เพื่อสอบถามได้ทันที