ถ่ายรูปอาหาร เทคนิค จากประสบการณ์ พอได้ทำอาหารกินเองและเขียนบทความไปด้วย ก็เลยมีโอกาสถ่ายรูปภาพเองด้วย ซึ่งก็เจอทั้งปัญหา และเจอทั้งอะไรดี ๆ ที่ช่วยให้ตัวผมเองเพิ่มความรู้ในการถ่ายภาพขึ้นมาบ้างเล็กน้อยเหมือนกัน ดังนั้น วันนี้ผมเลยคิดว่า อยากจะนำประสบการณ์ในการถ่ายรูปอาหารมาแบ่งปันทุก ๆ คนบ้าง เผื่อว่าจะสามารถช่วยให้ชาว AFM ทุกท่านมีไอเดียดีๆ สำหรับการถ่ายรูปภาพได้บ้าง ไม่มากก็น้อยครับ ตามดูได้เลยครับผม !
รูปภาพนี้ ส่วนตัวผมค่อนข้างชอบเลย เนื่องจากมีความเรียบร้อยของวัตถุต่างๆ ในภาพ มีสีสันหลากหลายจากวัตถุดิบ ทั้งสีแดงจากมะเขือเทศ สีเขียวจากผัก ฯลฯ มุมที่ใช้ในการถ่ายก็เป็นการเลือกมุมด้านข้าง ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้มองออกไปด้านนอกระเบียงเพื่อมองต้นไม้ มองธรรมชาติได้ดี ระยะของกล้องก็เลือกระยะใกล้ๆ โฟกัสวัตถุต่างๆ ได้ชัดเจนดี แต่ยังมองเห็นวัตถุต่างๆ ในภาพได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ หากสังเกตที่ตัวเขียงและตัวมะเขือเทศ จะเห็นว่ามีน้ำอยู่ด้วย ทำให้รู้สึกว่าผักมีความชุ่มชื้น รู้สึกสดชื่นเมื่อได้มองขึ้นมาด้วย
#โบโลน่าไก่ #AFM
รูปภาพนี้เป็นเทคนิคที่การเตรียมวัตถุดิบก่อนนำมาถ่ายรูปครับ ทำให้ไส้กรอกมีความร้อนเข้าไปกระตุ้นให้ชีสไหลเยิ้มออกมาก่อน ซึ่งเป็นเรื่องของการแสดงความเคลื่อนไหวของตัวชีส (คือ มีชีสไหลเยิ้มจากไส้กรอก) ซึ่งลูกเล่นแบบนี้ช่วยเพิ่มความน่าประทับใจได้เหมือนกัน จริงไหมครับ ?
#ไส้กรอกไก่จัมโบ้ทองสอดไส้ชีส #AFM
คราวนี้เราลองมาดูเรื่องที่ต้องระวังด้วยครับ จากรูปภาพนี้ ในช่วงแรกที่ได้ถ่ายรูปภาพต้มยำปลากระป๋องถ้วยนี้ มีปัญหาคือ เพราะน้ำต้มยำท่วมวัตถุดิบทั้งหมด จนมองไม่เห็นตัววัตถุดิบเลย ก่อนจะได้ภาพนี้จึงพยายามแก้ไขให้ตัววัตถุดิบลอยขึ้นมาอยู่เหนือน้ำบ้าง จึงได้พอมองเห็นชิ้นเนื้อปลา จึงพอจะถ่ายออกมาเห็นองค์ประกอบของเมนูนี้ได้ ดังนั้น ต้องระวังเรื่องนี้ด้วยครับว่า วัตถุดิบหรือวัตถุต่างๆ ใด เป็นสิ่งที่เราโฟกัส และจะทำอย่างไรให้วัตถุนั้นๆ ออกมาโดดเด่นในภาพครับ
จากที่ลองดูตัวอย่างภาพต่างๆ ไปพอควรแล้ว ผมขอลองสรุปเป็นหลักการถ่ายรูปภาพอาหารสักเล็กน้อย ครับ
1. เตรียมวัตถุดิบที่ใช้ให้เรียบร้อย อาจมีการเพิ่มความชุ่มชื้นด้วยน้ำในวัตถุดิบบางอย่าง เป็นต้น นอกจากนี้ ระวังด้วยว่า วัตถุดิบใดที่เราอยากโฟกัส อยากสื่อสาร จำเป็นต้องจัดวางวัตถุดิบนั้นให้สามารถมองเห็นได้อย่างสวยงามชัดเจนด้วย
2. เตรียมวัตถุต่างๆ เพื่อนำมาเป็นองค์ประกอบ เช่น การเลือกจาน การปูโต๊ะวางอาหารด้วยผ้าให้สวยงาม หรืออาจหาของตกแต่งต่างๆ ประดับจานอาหารให้ดูมีลูกเล่นสีสันเพิ่มเติม ฯลฯ
3. ใช้เทคนิคการถ่ายภาพช่วย เช่น ดูว่าถ่ายรูปจากมุมบนหรือมุมด้านข้างจานอาหารจะดูดีกว่ากัน หรือ ดูระยะความใกล้ของกล้องถ่ายรูปกับตัววัตถุว่า ถ่ายระยะใดเหมาะสมที่สุด หรือเป็นเทคนิคอื่น อย่างการสร้างความเคลื่อนไหวของตัววัตถุ หรือความเคลื่อนไหวอื่นๆ ให้แก่ตัวภาพ เพื่อเพิ่มเรื่องราว เพิ่มความประทับใจในการรับชมรูปภาพนั้น เป็นต้น
อ่านจนถึงในส่วนนี้แล้วทุกคนเห็นว่าอย่างไรกันบ้างครับ ? จริงๆ แล้วสามารถพิจารณาได้นะครับว่า มีส่วนใดที่ปรับใช้ได้บ้างหรือไม่จากที่ผมลองแชร์ประสบการณ์ให้ได้เห็นกันนะครับ และหากผิดพลาดในหลักการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ แต่ผมเองก็หวังว่า จะทำให้ผู้ที่ได้เข้าชมเว็ปไซต์ของทาง AFM มีอะไรที่มีประโยชน์จากการอ่านบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ ยังไงขอฝากไว้เท่านี้ก่อนนะครับ
บทความโดย : ทศพล รอบจังหวัด
สนใจสินค้ายี่ห้อ AFM PPork หรือ ไส้กรอก 3แพ็ค100 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ไลน์ @AFMTRK
หรือคลิก เพื่อสอบถามได้ทันที