อาหารพื้นบ้านล้านนา ข้าวเงี้ยว (ข้าวกั้นจิ๊น) อาหารของชาวไทใหญ่หรือเงี้ยว
ข้าวเงี้ยว ข้าวกั้นจิ๊น หรือ จิ้นส้มเงี้ยว เชื่อว่าเป็นอาหารของชาวไทใหญ่หรือเงี้ยว ใช้ใบตองห่อ บางสูตรไม่ใส่เนื้อสับ แต่ใส่เลือดคลุกเคล้ากับข้าวอย่างเดียว “กั้น” เป็นภาษาล้านนาแปลว่า คั้น บีบนวดคั้น เพราะมีขั้นตอนการนวดข้าวกับส่วนผสมให้เข้ากันนั้นเอง ส่วนคำว่า “จิ้น” หมายถึงเนื้อ เช่น จิ้นงัว จิ้นควาย จิ้นหมู หมายถึง เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อหมู ส่วน จิ้นส้ม จะหมายถึงแหนม อาหารพื้นเมืองจานนี้อาจจะไม่คุ้นหูคนต่างภาคเท่าไหร่ สำหรับ ข้าวกั้นจิ้นและสำคัญที่สุดยังเป็นอาหารพื้นบ้านล้านนา
ส่วนผสมข้าวเงี้ยว
- เนื้อหมูบด 100 กรัม
- เลือดหมู 1 ถ้วย
- น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ
- ใบตะไคร้ 1 กำมือ
- ข้าวสวย 500 กรัม
- เกลือ 1/2 ช้อนโต๊ะ
- กระเทียมเจียว
- ลังถึง
- ใบตอง
- ไม้จิ้มฟัน
วิธีทำ
- นำเลือดหมูมาคั้นกับใบตะไคร้เพื่อลดกลิ่นคาวเลือด ประมาณ 10-15 นาที
- เตรียมข้าวใส่ในชามผสม นำเลือดหมูที่คั้นกับใบตะไคร้ใส่ลงไป
- ใส่เนื้อหมูบด เกลือ และน้ำตาล ลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- นำใบตองตัดขนาดพอดี
- ตักข้าวกั๊นจิ๊นใส่ในใบตอง แล้วพับด้านข้างสองข้างเข้าหากัน จากนั้นห่อพับปลาย หัวท้ายแล้วนำไม้จิ้มฟันกลัด
- นำข้าวกั๊นจิ้นที่ห่อแล้ว ไปนึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที
- รับประทานพร้อมกระเทียมเจียว